• Exp
  • WDR
  • Pro Slide Nvr4104
  • 192.168.1.88 Ch7 20161005190438 20161005190602
  • แจ้งเตือนหากวัตถุผ่านกรอบที่กำหนด

    IP CAMS (Digital)

    กล้องเห็นได้ไกลแค่ไหน?

    ลูกค้าชอบถามว่ากล้องเห็นได้ไกลแค่ไหน...

    ให้คิดว่ากล้องเหมือนตาคน (ใช้ตามข้างเดียวมอง) วัตถุที่อยู่ใกล้ จะมีขนาดใหญ่ วัตถุที่อยู่ไกลจะมีขนาดเล็กลงไปเรื่อยๆตามระยะ

    ที่นี้บอกแบบนี้มันก็ไม่เห็นภาพ ผมเลยเอา Data sheet ของกล้อง IP 4.0 MP มาให้ดูว่าเค้าอธิบายว่าแบบนี้ แล้วเราก็ลองเอาไปเทียบในใจดูว่ากล้องเราความละเอียดเท่าไหร่ จะเห็นไกลขึ้นหรือใกล้กว่ากัน

    fl

     

    จาก ตารางด้านบน ยิ่งใช้เลนส์ Tele (ทางยาวโฟกัสูงภาพก็จะมีระยะหวังผลที่ไกลออกไป แต่เราจะเสียมุมภาพไป (เรียกว่าภาพมันจะแคบ) มันจะได้อย่างเสียอย่าง

    หากภาพที่ได้มีความละเอียดไม่พอ พอเอาภาพมาดูแล้วมันแตก เราสามารถแก้ไขได้โดย

    1.เลือกกล้องที่มี Resolution หรือความละเอียดที่สูงขึ้น

    2.ใช้ทางยาวโฟกัสที่มากขึ้น

    3.ต้องเลื่อนตัวกล้องให้เข้าไปใกล้วัตถุให้มากขึ้น

    ฟังชั่น สำหรับทางเดินแคบๆ

     

    สมัยก่อนเราจะแคงกล้องไม่ได้ เพราะจะทำให้คนที่ดูภาพต้องตะแคงกล้องไปด้วย

     

    แต่สมัยนี้ทำได้เล้ว ถ้าเราใช้กล้องระบบ IP ทำให้เราไม่สูญเสีย โอกาสรับภาพในตำแหน่งที่สำคัญ

    บางครั้งตำแหน่งที่เราติดกล้อง เราอยากให้ภาพที่ได้มีมุมที่มากกว่านี้ ซึ่งโดยปกติแล้ว หากเราต้องกาภาพที่กว้างขึ้น เราจะให้วิธีถอบกล้องออกไปอีก จะทำให้ได้มุมาภพที่กว้างขึ้น แต่บางกรณี เรา ถอยไม่ได้แล้ว เพราะด้านหลังเป็นกำแพง ตอนนี้ตำแหน่งกล้องอยู่ริมที่สุดแล้ว

    ดูรูป จะเป็นว่าเราไม่ต้องการภาพที่ส่องกำแพง  แต่มุมมันบังคับให้ต้องติดแบบนี้ เพราะต้องการเป็นประตูทั้ง 3 ห้อง ซึ่งการติดแบบนี้ ทำให้ส่วนที่เราต้องการจะเห็นบางส่วนหายไป และส่วนที่ไม่ต้องการจะดู มันเข้ามาอยู่ในเฟรมภาพ

     

     

     

     

     

    3

     

    ที่นี้กล้อง มีฟังชั่นในการ หมุน เพื่อให้ได้ภาพที่ต้องการ และยังแสดงภาพในจุดอับ ซึ่งหากเราไม่ใช้ฟังชั่น corridor จะไม่ได้เก็บภาพที่อยู่ในมุมบอด

    4

     

    การประยุกต์นำไปใช้งานอื่น ดูภาพตัวอย่างครับ

    5

    H.265 คืออะไร แล้วเราจะได้ประโยชน์อะไรจากมัน

    H.265 คืออะไร

     

         H.265 เป็นการบีบอัดวีดีโอรูปแบบใหม่ ที่ต่อเนื่องมาจาก H.264 ถูกพัฒนาขึ้นโดย ITU-T Video Coding Experts Group (VCEG) 22 ตุลาคม 2012 Ericsson ประกาศตัวว่าเป็นคนแรกของโลกที่เปิดตัวการเข้ารหัสแบบ H.265 ภายใต้ชื่อ High Efficiency Video Coding (HEVC) โดยหน่วยงาน ITU-T เป็นคนรับรองมาตรฐาน

         H.265 สามารถบีบอัดข้อมูลได้เป็นสองเท่าของ H.264 ด้วยระดับคุณภาพของภาพเท่ากัน สามารถรองรับคุณภาพของภาพหลากหลายที่ Bit Rate เท่าๆกัน และสามารถรองรับ 8K UHD ความละเอียด 8192 x 4320

         H.265 ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความสามารถในการบีบอัดมากกว่า H.264 โดย Bitrate ลงไปครึ่งหนึ่ง ขึ้นอยู่กับการทำงานของ applicationด้วย H.265 จะลดความซับซ้อนการคำนวณการเข้ารหัสลง ทำให้บีบอัดได้ดีขึ้น ขณะที่ H.264 ส่งข้อมูลระดับ SD ที่ 1Mbps แต่ H.265 สามารถส่งข้อมูลได้ถึง 720P หรือ (1280 x 720) และ HD ที่ 1-2Mbps

    ===============================================================================================================

    พอก่อนรายละเอียดมากกว่านี้ก็อ่านไม่รู้เรื่องละครับ

         เอาเป็นว่า มันสามารถทำให้ลดปริมาณของไฟล์ในการบันทึกได้ 50-70% ด้วยคุณภาพที่เท่ากัน....บางคนก็ยังไม่เข้าใจว่กระทบเรายังไงต่อ แค่จากเดิมบันทึกได้2 วันกลายเป็น 4 วัน เท่านั้นเอง...

         คือมันก็ใช่ครับ ถ้างาน Scale เล็ก ผมยกตัวอย่าง หากเราติดกล้อง 120 ตัว เป็นกล้อง 3.0 MP Bitrate สูงสุดที่คุณภาพดีที่สุด อยู่ที่ 8000Kbps กล้องจะใช้พื้นที่ในการจัดเก็บ 70GB กล้อง/วัน/24 ชม.

    ฉะนั้นใน1 วันเราจะต้องใช้พื้นที่ 8400 GB หรือ 8.4 TB แปลว่า เราต้องใช้ Harddisk 4 TB สองลูก สำหรับ 1 วัน..... หากต้องการ30 วันแปลว่าต้องใช้ Harddisk 60 ลูก...

         (ณวันนี้ราคา Harddisk 4 TB = 5,500 บาท/ลูก) แปลว่าเราต้องใช้เงินสำหรับบันทึก 30 วันที่ 330,000 บาท......แต่ยังไม่จบเท่านั้น หากต้องการใส่ Harddisk ขาด60 ลูกได้ จะต้องใช้ EXtension Stroage อีกต่างหาก ซึ่ง ราคาที่พอจับต้องได้คือ 8 SATA ราคาตัวละ 17,000บาท/ตัว ซึ่งต้องใช้ราวๆ 7 เครื่อง เป็นเงิน = 119,900

         ปัญหาต่อมา คือ Extension stroage ไม่สามารถใส่ได้ถึงขนาด 7 เครื่องมาต่อกัน มันสูงเกินไป เราจะต้องลดจำนวน stroageลงด้วยการ เปลี่ยน Harddisk จาก 4 TB เป็น 10 TB จาก Harddisk ตัวละ 5,500 บาท จะกลายเป็นตัวละ 17,500 บาท .....ซึ่งต้องใช้ทั้งหมด 25 ลูก = เงิน 437,500.....(เฉพาะ Harddisk) รวม Extension Stroage ก็รวมแล้วประมาณ 500,000 เห็นจะได้.....

         แล้วถ้าเราเปลี่ยนกล้องเป็น4 .0 MP เพื่อต้องการความคมชัดที่มากกว่านี้ แต่ความละเอียดเท่าเดิมล่ะ... ไม่ต้องเพิ่มเงินมากกว่านี้หรือ ถูกต้องไหมครับ ซึ่งตอนนี้กล้องที่ได้รับความนิยมคือ 4.0 แล้วนะครับ

         แต่ช้าก่อน เรามีพระเอกที่เกริ่นให้ฟังข้างบนนั่นคือ เทคโนโลยี H.265 (ต้องดูกล้องเป็นตัวๆไปว่าตัวไหน รองรับ H.265 บ้าง ไม่ได้หมายความว่ากล้อง 4.0MP จะเป็น H.265 นะครับ) เวลาต้องการใช้ เทคโนยี H.265 กล้องต้องรองรับ H.265 และเครื่องต้องรองรับ เทคโนโลยี H.265 ด้วยนะครับ ขาดอย่างใดอย่างนึงไม่ได้ หมายความว่ากล้องรุ่นเก่า เครื่องรุ่นเอา จะไม่รองรับ H.265

    265

         ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ว่ามันสามารถบีบอัดข้อมูลที่มีคุณภาพเท่าเดิมแต่ลดพื้นที่ลง 50-70% แปลว่าเราสามารถลด ขนาดของ Harddisk ได้ครึ่งนึงเป็นอย่างน้อย จาก 8.4TB  เหลือน้อยกว่า 4.2 TB จาก60 ลูก เหลือ 30 ลูก แปลว่าเงินเราจะใช้เงินน้อยลงไปอย่างน้อย 2-300,000 บาท ทันที.... 

         ที่สำคัญคือกล้องในรุ่นเทียบเคียงกัน H.264 และ H.265 มีราคาต่างกันไม่กี่ร้อย!!  

         แค่เปลี่ยนระบบนิดเดียว เลือก Product ให้ถูก เราจะใช้เงินน้อยลงไปเป็นแสน!

     

    การ design ระบบหากทำโดยผู้เชี่ยวชาญจะทำให้ต้นทุนถูกลงแบบไม่น่าเชื่อ หากมานั่งคิดเอาเอง หรือลอก Tor แบบเดิมๆที่เคย อยากซื้อของมาทำเอง อาจจะไม่ได้จ่ายเงินน้อยอย่างที่คิด

    ภาพจากกล้องวงจรปิด IP camera บันทึ่กที่ความละเอียด 1.3 MP

    ภาพจากกล้องวงจรปิด 1.4 MP


    วีดีโออัพโหลดบน youtube โดนลดขนาดไปพอสมควร ทำให้ภาพที่แสดงไม่ชัดเท่าภาพที่ได้จริงนะครับ (ภาพที่ได้จริงชัดกว่านี้)


    วีดีโอนี้เป็นภาพของป้อมยามจากกล้องหมู่บ้านแกรนด์บางกอกบูลเลอร์วาด ที่เราได้ไปติดตั้ง กล้องไอพี


    ภาพนี้เป็นภาพตอนกลางคืนตอนที่แสงไฟหน้ารถสาดเข้ามาที่หน้ากล้องวงจรปิด ก็ยังทำงานได้ปกติ โดยภาพที่ได้ไม่มีอาการ แฟร์ ให้เห็นครับ


    เราไม่ได้ติดไอพีทั้งหมด เราติดเฉพาะจุดที่สำคัญๆครับ บางจุดก็ไอพีบางจุดก็ Analog  ตามความเหมาะสมของหน้างานเพื่อประหยัดงบประมาณ




    IP Camera มันดีอย่างไร เมื่อไหร่ควรใช้ระบบ IP เมื่อไหร่ควรใช้ระบบ HD?

           ระยะหลังมานี้ กล้อง Ip Camera เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากราคาก็ถูกลงเรื่อยๆ  ยี่ห้อก็มีให้เลือกหลายหลาย 


           หลายๆคนคงสงสัยว่า " IP Camera มันดีอย่างไร เมื่อไหร่ควรใช้ระบบ IP เมื่อไหร่ควรใช้ระบบ HD?"


    บทความของผมเขียน ณ วันนี้ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 นะครับ 
    เพราะเมื่อเวลาเปลี่ยนไป เทคโนโลยีก็เปลี่ยนไป ราคาก็จะเปลี่ยนไปนะครับ..."Half Price Twice Performance" 

    ตามกฏของ Moore's law เจ้าพ่อวงการคอมพิวเตอร์ จาก INTEL..


    มาเริ่มเรื่องของเราดีกว่า...


    เมื่อไหร่ควรใช้ IP ผมสรุปอย่างนี้ครับ


    1. เมื่อต้องการติดกล้อง 1 - 2 ตัว

         เนื่องจากว่าการติดตั้งระบบ Analog หรือ HD แบบธรรมดาที่ขายๆกันอยู่ทั่วๆไป จะมีต้นทุนที่เลี่ยงไม่ได้เลยคือ เครื่องบันทึก 4 Channel ไม่ว่าคุณจะใช้กล้อง 1 ตัวคุณก็ต้องซื้อ เครื่องบันทึก 4 Channel เพราะเป็น เครื่องบันทึก 4 Channel นี้รองรับกล้องได้น้อยที่สุดที่มีการผลิตแล้ว (channel ไม่ได้ใช้ก็ปล่อยให้ว่างได้) อีกทั้งต้องซื้อ Hardisk, กล้อง และ สาย สัญญาณ สิ่งเหล่านี้เป็นต้นทุน ที่สูงสำหรับการติดกล้องแค่ 1 ตัว...คือพูดให้เข้าใจง่ายว่า จะซื้อติดกล้อง 1 ตัวก็ต้องใช้ เครื่องบันทึก 4 Channel....เพราะ เครื่อง 1 Channel ไม่มีขาย ต่อให้มีขายราคาก็ไม่ได้ต่างจาก 4 Channel มากนัก... เพราะกล้อง IP สามารถต่อเข้ากับ Switch hub เข้าสู่ network โดยไม่ต้องผ่านเครื่องบันทึก (หากไม่ต้องการบันทึก) เลยทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง



    2.เมื่อต้องการใช้กล้องจำนวนมาก และตำแหน่งที่ติดกระจัดกระจาย เดินสายระยะไกล


         เช่น ต้องการติดกล้องในโรงงาน  32 ตัว แต่ต้องการตั้งเครื่องบันทึกใน ออฟฟิสเจ้านายที่อยู่ห่างออกไป 3 กิโล 

    ซึ่งงานลักษณะนี้ การใช้กล้อง IP จะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า เพราะสามารถเดินสาย Fiber Optic เพียงเส้นเดียวมาหาที่ออฟฟิสได้ หากเป็นระบบ HD จะต้องเดินสายกล้อง 32 เส้น ในระยะไกลจะมีต้นทุนค่าแรงและค่าอุปกรณ์ ที่สูงมาก ซึ่งงานลักษณะนี้ อุปกรณ์กล้อง IP มีราคาสูงกว่า แต่งานระบบค่าแรง,ค่าอุปกรณ์ จะต่ำกว่า ซึ่งจะทำให้งบประมาณโดยรวมแล้วกล้อง IP จะต่ำกว่าในงาน ระบบใหญ่ๆ




    3.งานที่ต้องการความยืดหยุ่นสูง

         ข้อดีขอระบ IP ข้อนึงที่โดดเด่นคือ ความยืดหยุ่นสูงมาก เช่น เราสามารถใช้เครื่องบันทึกหลายๆตำแหน่ง โดยลิงค์สายแลนด์ แค่เส้นเดียว เช่น ในโรงงานติดกล้อง 100 ตัวทั้งภายนอก/ภายใน/รอบๆโรงงาน เราสามารถดึง สาย LAN แค่เส้นเดียว ไปที่ป้อมยามให้รปภ.ดูกล้องเฉาะภายนอกได้(สามารถเลือกกล้องได้ว่าจะให้ดูกล้องใด ไม่ให้ดูกล้องใด) อีกทั้ง สามารถตั้งเครื่องบันทึกที่ห้อง Server เพื่อบันทึกภาพทั้งหมด, สามารถเพิ่ม เครื่องบันทึกที่ฝ่ายผลิต โดยให้ผู้จัดการฝ่ายผลิตดูกล้องเฉพาะกล้องในฝ่ายผลิตเท่านั้นได้ ซึ่งแต่ละเครื่องจะทำงานแยกอิสระ ต่อกัน สามารถเลือกกล้องดูภาพแต่ละกล้องได้โดยหน้าจอไม่ดึงกัน


    จากรูป เราสามารถดึงกล้องบาง(ตัวที่เราต้องการ)ให้รปภ.ที่อยู่ด้านล่างเห็นได้ โดยไม่เกี่ยวกับการบันทึกหรือการดูภาพด้านบนที่ห้อง control ใดๆเลยๆ ซึ่งรปภ. สามารถคลิ๊กเลือก ดูช่องได้อิสระตามที่เค้าต้องการ





    4.เมื่อต้องการความคมชัดที่สูง

         แม้ว่ากล้อง HD และกล้อง IP จะมีจำนวน Pixel ที่เท่ากัน แต่ความคมชัดของภาพที่ได้ จะไม่เท่ากัน เนื่องจากว่ากล้อง HD จะมีการบีบอัด เพื่อส่งสัญญาณ เข้าไปในสาย RG6(สาย Analog) ซึ่งทำให้สูญเสียความคมชัดไป แต่กล้อง IP ไม่มีการบีบอีดแปลงสัญญาณ ทำให้กล้อง IP มีความคมชัดที่มากกว่า แม้ว่า จะมีจำนวน Pixel ที่เท่ากันครับ





      

    กล้อง Spec เท่ากัน ราคาต่างกัน ทำไมมันถึงต่างกัน

    คยสงสัยไหมครับ กล้อง Spec ในกระดาษเท่ากัน แต่ราคามันต่างกัน แล้วมันต่างกันตรงไหน ทำไมราคามันไม่เท่ากัน

    เราสั่งกล้อง 2 ตัวมาลอง 

    เวลาลองกล้อง ต้องลองตอนกลางคืน สภาพแสงน้อยจะเป็นตัวบอกว่ากล้องอยู่ในเกรดไหน

    ถ้าสังเกตุเห็นภาพจะสวยต่างกันพอสมควรกับค่าตัวที่ต่างกัน

    ด้านบนภาพไม่สวย แตกเป็นเม็ดๆ แบบนี้จะมีปัญหาในกรณีที่เกิดเหตุการณ์กลางคืน และเราต้องซูมภาพ แต่เราเห็นหน้าคนร้ายไม่ชัดเพราะมันแตกเป็นเม็ด รบกวนภาพ

    กล้องด้านล่าง แพงกว่า สีดำ ดำสนิท noise รบกวนน้อย ภาพแตกไม่เป็นเม็ดๆ

     

     ทั้งๆที่ spec ของกล้องเท่ากัน ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นขนาด CCD 1/3" เลนส์ 3.6 Active pixel เหมือนกัน แต่ภาพที่ได้ต่างกัน

     

    Untitled 1Untitled 2

     

    สำหรับกล้อง ราคาที่สูงกว่ามันมีอะไรที่มากกว่าที่ spec สามารถเขียนลงไปได้

     

    ผมเชื่อว่าเราจ่ายเงินมากกว่า มันจะต้องมีอะไรดีกว่าเสมอๆ แต่บางทีเราไม่เข้าใจมากพอว่ามันดีกว่ายังไง แค่ไหน หากไม่เอามาเปรียบเทียบกัน

    กล้อง IP ที่ไม่ต้องเดินสายไฟ

    โดยปกติอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องมีสายไฟ เพื่อนำไปหล่อเลี้ยงระบบอิเลคโทรนิคอยู่แล้ว ซึ่งกล้องวงจรปิดก็เช่นกัน


    ในอดีตนั้น สายที่ออกมาจากกล้องวงจรปิดนั้น จะต้องประกอบไปด้วย

    1. สายสัญญาณ

    2. สายไฟ


    ซึ่งในระบบ Analog นั้นก็จะหนีไม่พ้นที่จะต้องมีสายที่ว่าทั้ง 2 เส้นนี้ แต่เมื่อมีการพัฒนากล้อง IP ออกมา กล้องบางรุ่นมีความสามารถพิเศษที่สามารถจ่ายไฟไปในสายสัญญาณได้ เท่ากับว่าเราเดินสายสัญญาณ เพียงแค่เส้นเดียว สายไฟไม่ต้องใช้  


    ระบบที่ว่านี้เราเรียกว่า PoE = Power Over Internet



    ลูกค้าบางท่านอาจจะคิดว่า แค่ประหยัดสายไฟไปแค่เส้นเดียว จะมาเขียนอธิบายทำไมกันแค่นิดเดียวเอง


         สายไฟ THW ต้นทุน 15 บาท/เส้น/เมตร ซึ่งเราต้องใช้ 2 เส้น สำหรับ  นิวตรอนและไฟ....หากเราติดกล้อง สัก 16 ตัว ที่ตัวละ สัก 80 เมตร = 1,280 เมตร ซึ่งต้องใช้ 2 เส้น รวมเป็นเงิน 38,400 บาท..... เห็นหรือยังครับ ว่าเราเขียนถึงทำไม


         นี่แค่กล้อง 16 ตัวนะครับ แล้วถ้าติด 30-40 ตัวนี้ แค่เฉพาะต้นทุนของผู้รับเหมามันก็เฉียดแสนแล้ว....ซึ่งแน่นอน ถ้าให้เราทำก็ต้องบวกต้นทุนค่าแรงงานและ กำไรเข้าไปในนั้นด้วยแน่นอน


    มาเจาะเรื่อง PoE ลึกๆ แบบ ภาษาชาวบ้านกัน


    สาย LAN ที่เราใช้กันตามบ้านเนี่ย จะมีอยู่ทั้งหมด 8 เส้น ซึ่งในการใช้งานรับส่งข้อมูลนั้น เราใช้แค่เพียง 4 เส้นเท่านั้น... แปลว่าที่ผ่านมานั้น เราใช้สาย LAN แค่ครึ่งเดียว (4เส้น) มาตลอด โดยที่ 4 เส้นที่เหลือไม่เคยถูกนำมาใช้งานเลย...




    ต่อมาไอ่เจ้า PoE ที่ว่าเนี่ย เกิดขึ้นมา และมาใช้ประโยชน์จากสายที่เหลืออีก 4 เส้นนี้แหละ ซึ่งการจ่ายไฟ PoE เค้าจะจ่ายไฟเป็นกระแสตรง 48V ซึ่งจะไม่รบกวน/หรือเหนี่ยวนำให้สายสัญญาณนั้นถูกรบกวนแต่อย่างใด


    ดังนั้น เราจึงเดินสาย LAN เพียงแค่เส้นเดียว โดยสาย LAN นั้นจะมี ไฟและสายสัญญาณ จ่ายไปด้วยกัน... 


    อันนี้วิชาการ ใครไม่อยากปวดหัว ไม่ต้องอ่าน ข้ามไปได้เลยครับ

    ======================================================================


    ทำความรู้จักมาตรฐานPOE IEEE 802.3af และ IEEE 802.3at

    POE ตามมาตรฐาน IEEE แบ่งออกเป็นสองมาตรฐานหลักๆด้วยครับคือ 802.3af ปี 2003 และ 802.3at ปี 2009 โดยทั้งสองมาตรฐานมีความแตกต่างกันเรื่องกำลังของกระแสไฟ้ฟ้าที่ส่งไปบนสาย UTP เพื่อจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆเช่น Access Point, VoIP Phone, CCTV IP-Camera เป็นต้น
    IEEE 802.3af รองรับการส่งไฟฟ้ากระแสตรง(DC) สูงสุด 15.4 Watt, 48V, 350mA (ต่ำสุดที่ 44VDC) ไปยังอุปกรณ์เครือข่ายปลายทาง (Powered Device) โดยกระแสไฟฟ้าจะมีเฉลี่ยที่ปลายสายเพียง 12.95Watt เนื่องจากต้องมีการสูญเสียพลังงานไปตามระยะทางของสาย UTP นั่นเอง
    IEEE 802.3at หรือที่รู้จักกันในนาม POE+ หรือ POE Plus ซึ่ง 802.3at จะมีรองรับการส่งไฟฟ้า DC ที่มีกำลังสูงถึง 25.5Watt หรือมากได้ถึง 50Watt เมื่อใช้สายทุกคู่ในการส่งกระแสไฟฟ้า



    ทำความรู้จักมาตรฐานPOE IEEE 802.3af และ IEEE 802.3at


    POE ตามมาตรฐาน IEEE แบ่งออกเป็นสองมาตรฐานหลักๆด้วยครับคือ 802.3af ปี 2003 และ 802.3at ปี 2009 โดยทั้งสองมาตรฐานมีความแตกต่างกันเรื่องกำลังของกระแสไฟ้ฟ้าที่ส่งไปบนสาย UTP เพื่อจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆเช่น Access Point, VoIP Phone, CCTV IP-Camera เป็นต้น


    IEEE 802.3af รองรับการส่งไฟฟ้ากระแสตรง(DC) สูงสุด 15.4 Watt, 48V, 350mA (ต่ำสุดที่ 44VDC) ไปยังอุปกรณ์เครือข่ายปลายทาง (Powered Device) โดยกระแสไฟฟ้าจะมีเฉลี่ยที่ปลายสายเพียง 12.95Watt เนื่องจากต้องมีการสูญเสียพลังงานไปตามระยะทางของสาย UTP นั่นเอง ปัจจุบัน บ้านเราใช้แบบนี้เป็นหลักสำหรับกล้องวงจรปิด


    IEEE 802.3at หรือที่รู้จักกันในนาม POE+ หรือ POE Plus ซึ่ง 802.3at จะมีรองรับการส่งไฟฟ้า DC ที่มีกำลังสูงถึง 25.5Watt หรือมากได้ถึง 50Watt เมื่อใช้สายทุกคู่ในการส่งกระแสไฟฟ้า


         สาเหตุที่ต้องมีการพัฒนามาตรฐาน 802.3at ขึ้นมานั้น ก็เนื่องจากแต่ก่อนอุปกรณ์เครือข่ายอย่าง Access Point แบบ IEEE 802.11b/g ธรรมดา หรือ VoIP Phone นั้น มีความต้องการกระแสฟ้าในระดับ 8-12 Watt ซึ่งมาตรฐาน 802.3af ก็สามารถรองรับได้ แต่เมื่ออุปกรณ์เครือข่ายอย่าง Access Point มีการพัฒนาไปใช้เทคโนโลยี MIMO ที่มีภาคส่งสัญญาณหลายStream ซึ่งต้องการไฟมากขึ้น และยังมี Access Point ประเภท Dual Radio ที่รองรับย่าน 2.4GHz และ 5GHz พร้อมๆกัน ซึ่งยิ่งต้องการไฟในระดับ 20-30Watt ขึ้นไป ซึ่งต้องการ POE แบบ 802.3at ซึ่งสามารถกระแสไฟที่มีกำลังสูงกว่าได้นั่นเอง


    ======================================================================


    ประโยชน์ของเทคโนโลยี POE

    1. ประหยัดกว่าเดินสายไฟ และในบางสถานที่ การเดินสายไฟ AC ใหม่ไปยังสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์ Access Point อาจจะเป็นไปไม่ได้
    2. ติดตั้งง่ายและรวดเร็วกว่า เพราะใช้สายเพียง UTP เพียงเส้นเดียวไม่ต้องลากสายไฟใหม่ หมดกังวลในการหาที่ติดตั้งปลั๊กไฟ และลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการดูแลรักษาอีกด้วย หากกล้องค้าง ต้องการปิด เปิดใหม่ เพียงแค่ ปิดเปิด Switch ก็ทุกตัวก็เหมือน reboot กล้องทุกตัวได้
    3. รองรับความเร็วระดับ Gigabit กล้องที่ความคมชัดระดับ 5.0 MP ก็ใช้งาน PoE ได้
    4. ไฟแบบ 48V DC สามารถทำระบบ Back-up ไฟได้ง่ายกว่า โดยสามารถสร้างระบบสำรองไฟด้วย Battery และยังช่วยสร้างระบบบริหารกระแสไฟจากส่วนกลางได้อีกด้วย

    ดังนั้น หากเราต้องการใช้ PoE นี้ แปลว่าเราจะต้อง

    1. ติดตั้งกล้อง IP เท่านั้น
    2. กล้องที่ใช้ จะต้องรอรับ PoE ด้วย หากกล้องไม่รองรับ ต้องไปหา PoE Spliter มาใส่
    3. ตัว switch HuB ที่ใช้ จะต้องมีความสามารถจ่าย PoE ได้ 



    หาก Switch/HUB ทำไม่ได้ ต้องไปซื้ออุปกรณ์ มาเพิ่ม เพื่อทำให้เป็น PoE ให้ได้ เราเรียกมันว่า PoE Injector




    ซึ่งกล้องส่วนใหญ่ที่ไม่ถูกเกินไปนัก ส่วนใหญ่ จะมีฟังชั่น PoE มาให้อยู่แล้ว

    จบการอธิบายเรื่อง PoE "กล้องที่ไม่ต้องเดินสายไฟ" 


    IP Camera (กล้องวงจรปิด ไอพี คือ อะไร)

    กล้องวงจรปิด IP Camera (กล้องไอพี) คืออะไร? ดีมั้ย?


    กล้อง IP Camera คือกล้องวงจรปิดประเภทหนึ่ง ที่รวมความสามารถของกล้องวงจรปิดและความสามารถบางประการของคอมพิวเตอร์เอาไว้ด้วย



    ความสามารถที่ว่าเหมือนกับคอมพิวเตอร์ก็คือความสามารถด้านเครือข่าย IP Cam จะมีเลข IP แยกแต่ละกล้อง (คล้ายๆเลขที่บ้านใช้บอกว่า เครื่องแต่ละเครื่องอยู่ที่ไหนบนระบบเครือข่าย) ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบ Network ที่บ้าน ที่ออฟฟิส หรือสำนักงานได้ด้วย หากงง....ว่าผมกำลังเล่าเรื่องอะไร แสดงว่าอ่านข้ามขั้น ไปอ่านบทความนี้เพิ่มก่อน แล้วค่อยกลับมาอ่านต่อ


    นอกเรื่องนิด กล้อง IP Camera vs webcam

    อย่าเอากล้อง IP Camera ไปรวมกับ Webcam นะครับ มันคนละอย่างกันเลย....เพราะพวก Webcam ต้องทำงานบน OS (operating system) แต่กล้อง IP จะมี firmware ของมันเอง ไม่ต้องเพิ่งใคร


    เนื่องจาก กล้องวงจรปิด IP Camera หรือ กล้อง IP มี IP Address ของตัวเอง ทำให้สามารถเสียบสาย LAN หรือต่อ Wifi ต่อกับ Network ได้เลยครับ (ไม่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์) ไม่เหมือนกล้อง Web Cam ที่ต้องเชื่อมต่อผ่าน USB port ว่าง่ายๆคือ WebCam ต้องต่อกับคอมพ์เท่านั้นถึงใช้งานได้ และที่สำคัญ สาย USB เดินได้ไม่เกิน 10 เมตรครับ! เดินไกลกว่านั้น จะใช้ไม่ได้เนื่องจากคอมหากล้องไม่เจอ....ไปมันไปเลี้ยงไม่ถึง

    ไม่ต้องคิดเรื่องเอา webcam มาใช้แทนกล้องวงจรปิดนะครับ webcam มันไม่ได้ออกแบบมาให้มันมีความเสถียรและใช้งานได้สะดวกเหมือนกล้องวงจรปิด...กล้องวงจรปิด เค้าออกแบบมาให้มันรองรับการทำงาน 24 ชั่วโมงใช้ร่วมกันทีละหลายๆตัว ส่วน webcam เค้าออกแบบมาให้เล่น camfrog เอ้ยไม่ใช่....เอาออกแบบให้เอาไว้ chat ใช้เดี่ยวๆ ตัวเดียว ใช้ประเดี๋ยวประด๋าว.......คือจะบอกว่าอย่างใช้งานผิดประเภท

    เห็นลูกค้าของเราหลายรายแล้วครับ ตอนแรกอยากจะประหยัดก็เลยเอา webcam มาโมดิฟายเอา...สุดท้ายไม่เวิกร์...ก็โล๊ะทิ้งแล้วมาติดกล้องวงจรปิดแบบเป็นเรื่องเป็นราว เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย......


    นอกจากนี้ กล้องวงจรปิด IP Camera ยังสามารถตั้งค่าให้ ดู Live VDO หรือถ่ายทอดสดผ่าน Web Browser (Internet Explorer) ได้เลยโดยไม่ต้องลงโปรแกรมเพิ่มและไม่ต้องต่อผ่าน NVR เหมือนระบบ Analog ด้วยที่ต้องต่อผ่าน DVR

    ด้วยระบบของ IP มันสามารถต่อขยายตัวบันทึกได้มาก....มากแบบว่าเป็น infinity เลยทีเดียว....(แต่จริงๆจะถูกจำกัดด้วยงบประมาณในกระเป๋าเรามากกว่า) 


    สรุป IP Camera คือกล้องวงจรปิดที่มีการทำงานพื้นฐานอยู่บนระบบเครือข่ายนั่นเอง......."อ้าว..แล้วทำงานบนระบบเครือข่ายมันดีไง?."


    ระบบเครือข่าย แยกออกเป็น 3 รูป แบบ แต่ผมจะอธิบายแค่สองรูปแบบพอ เพราะเกี่ยวกับกล้องวงจรปิดแค่สองระบบ


    1. เครือข่ายแบบดาว (Star Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างเข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลางของเครือข่าย

    มันคือระบบกล้องแบบ Analog ที่ต้องเดินสายสัญญาณทุกเส้นวิ่งไปหาที่ DVR ไงครับ คือกล้องทุกตัวต้องมีสายสัญญาณปลายทางอยู่ที่ DVR ในอัตราส่วน 1:1 เสมอ ไม่มีข้อยกเว้น สำหรับระบบ Analog

        

    2. เครือข่ายแบบบัส (Bus Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ลในการส่งข้อมูล

    มันคือระบบกล้องแบบ IP Camera โดยที่เราสามารถต่อสายกล้องออกไปได้ โดยต่อเพิ่มจากกล้องตัวที่ใกล้ที่สุดได้ ไม่ต้องเริ่มเดินสายใหม่จาก DVR และสามารถต่อออกไปได้เรื่อย ตามเท่าที่อุปกรณ์สนับสนุน



    ข้อดีของระบบ Analog

    1. ติดตั้งง่าย ช่างที่ไหนก็ทำได้ ไม่ยุ่งยาก เพราะเสียบแล้วใช้งานได้เลย

    2. ใช้งานง่าย ดูแลง่าย เพราะคุณเคย...คล้ายกับการใช้งาน เครื่องเล่น DVD

    3. ราคาถูก


    ข้อดีของระบบ IP Camera

    1. ระบบรองรับ ทำให้มีความคมชัดเจนได้สูง เนื่องจากสามารถข้ามข้อจำกัดที่เป็นระบบ Analog ที่ชัดได้มากที่สุดแค่ 800 TVL

    คือ IP สามารถชัดได้ถึงระบบ Hidef คือ 1080P หรือ มากกว่านั้นมากๆ ระดับ 20MP ก็มี ซูมแล้วภาพชัดมาก (เหมือนรูปถ่ายจากกล้อง Digital สมัยนี้)

    2. สามารถต่อพ่วงขยายจำนวนกล้องออกไปได้เรื่อยๆ โดยไม่ผูกอยู่กับ จำนวน Channel ของ DVR อีกต่อไป

    ระบบ Analog DVR จะมี 4 กล้อง 8 กล้อง 16 กล้อง หากเราใช้ DVR 4 Channel แต่อยากเพิ่มกล้อง อีก 1 ตัว เราต้องเปลี่ยน DVR เป็น 8 chancel ซึ่ง อีก 3 ช่องที่เหลือเราก็จะไม่ได้ใช้ แต่ระบบ IP สามารถเพิ่มกล้องเข้าไปได้เลย ทีละตัวหรือเป็นร้อยสองร้อยตัวก็ทำได้

    3. ยืดหยุ่นกว่า เนื่องจากความที่ตัวมันเป็น IP ทำให้มีความยืดหยุ่นสูง เช่น

    สามารถย้ายอุปกรณ์บันทึก (NVR) ได้ง่ายๆ แค่ดึงสายแลนออก 1 เส้น แล้วไปเสียบใหม่ในตำแหน่งใดๆในตำแหน่งที่เราต้องการขอแค่เพียงให้เป็น network วงเดียวกันเท่านั้น

    4. ใช้สายจำนวนน้อยทำให้มีความเป็นระเบียบมากกว่า

    เนื่องจากว่าสามารถจ่ายไฟเลี้ยงกล้อง, สายสัญญาณ,  สาย control กล้อง Speeddome ได้ด้วย สาย LAN เพียงเส้นเดียว ทำให้ง่ายต่อการจัดการและสวยงามกว่า

    5. มีฟังชั่นที่ทำให้สะดวกสบายต่อการใช้งานมากกว่า เนื่องจากว่าตัวมันมีพื้นฐานจะระบบ คอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถใช้ software มาบริหารจัดการได้ ฟังชั่นที่ผมเห็นว่ามีประโยชน์ เช่น

     - ฟังชั่นการค้นหาช่วงเวลาที่ผิดปกติของภาพยนต์ที่ได้บันทึกไว้ โดยเราสามารถเลือกพื้นที่ที่ผิดปกติ โดยให้คอมพิวเตอร์ทำการค้นหาได้ โดยไม่ต้องนั่งเฝ้า หรือดูด้วยตาเปล่าเอง ยกตัวอย่าง ลูกค้าสงสัยว่าน้ำมันพร่องไปไวกว่าปกติต้องการดูว่า มีใครมาแอบเปิดดูดน้ำมันรถบรรทุกไปหรือเปล่า หากเราใช้ระบบ Analog เราก็ต้องดูไปเรื่อยๆ เพราะเราไม่รู้ว่าเหตุการณ์เกิดเมื่อไหร่...เสียเวลา แต่ระบบ IP Camera มันสามารถแสกนหาได้เลยว่าในส่วนที่เราสนใจ มีการเคลื่อนไหวเมื่อไหร่(โดยการเลือกพื้นที่ที่สนใจ) แล้วคอมพิวเตอร์จะทำเป็น List รายการออกมาให้เราเลือกดูพร้อมกับเล่นไฟล์ที่เราบันทึกไว้ได้เลย ...ไม่เสียเวลา เพราะว่าช่วงไหนที่มีมีการเคลี่อนไหว ระบบมันก็ไม่นำมาแสดงผมให้เรา

     - หากมีคนชมภาพหลายคน สามารถให้สิทธิ์ แต่ละคนไม่เท่ากันได้ เช่น ให้รปภ.ดูได้เฉพาะกล้องที่ 3, 4, 9, 16 เท่านั้น หรือ ผู้จัดการแผนกแต่ละแผนก สามารถดูได้แต่กล้องของฝ่ายตัวเองเท่านั้น หรือ ญาติคนไข้ในห้องผู้ป่วยใน ดูได้แต่เฉพาะกล้องของห้องคนไข้ของญาติตัวเองเท่านั้น แต่ Admin สามารถดูได้ทุกห้องเป็นต้น

    6. ไม่มีข้อจำกัดในด้านการแชร์ทรัพยากรของอุปกรณ์บันทึกอีกต่อไป

    คือ โดยปกติแล้วในระบบของ Analog framerate ของ DVR จะต้องการด้วย จำนวนกล้อง หากมีกล้องมา Framrate ต่อกล้องก็จะได้น้อยลง แต่ในระบบ IP กล้องแต่ละตัวจะมีตัวแยกประมวลผมที่ตัวกล้องเองแยกกันแต่ละตัว ไม่ว่าจะกล้องกี่ตัวก็ไม่ได้ถูก share resource แต่อย่างใด